บทที่ 9 การสร้างฟอร์มในมุมมอง Form Design

แบบฝึกหัดก่อนเรียน


1.  ฟอร์มว่างๆที่ให้เราออกแบบ มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ
ก.  Form Header
ข.  Form Detail
ค.   Form Footer
ง.   ถูกทุกข้อ
2.   เครื่องมือ เรียกว่าเครื่องมืออะไร
ก.  คอมโบบ็อกซ์
ข.  เลเบล
ค.  Unbound Object Frame
ง.  เช็กบ็อกซ์
3.   เครื่องมือ  เรียกว่าเครื่องมืออะไร
ก.  เฟรม
ข.  เฟรม
ค.  ลิสต์บ็อกซ์
ง.   เช็กบ็อกซ์
4.   ข้อใดเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในมุมมอง From design
ก.  หน้าต่าง Properties
ข.  Ruler
ค.  ทูลบาร์  Formatting
ง.  ถูกทุกข้อ
5.   ข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกัน
ก.  ออบชั่นบัตทอน,แทรกเช็คบ็อกซ์
ข.  เช็กบ็อกซ์,แทรกคอมโบบ็อกซ์
ค.  ลิสต์บ็อกซ์,แทรกลิสต์บ็อกซ์
ง.  Unbond Object Frame,แทรกรูปภาพ
6.   ปุ่ม  บนทูลบ็อกซ์ในมุมมอง  Form Design  มีไว้สำหรับใช้งานใด
ก.  แทรกคอมโบบ็อกซ์ลงบนฟอร์ม
ข.  แทรกแท็บคอนโทรลลงบนฟอร์ม
ค.  แทรกเฟรมลงบนฟอร์ม
ง.  แทรกเท็กซ์บ็อกซ์ลงบนฟอร์ม
7.   คอนโทรลประเภทใดที่ใช้ในการแสดงตัวเลือกที่สามารถเลือกได้เพียงครั้งละ 1 เท่านั้น
ก.  คอมโบบ็อกซ์         
ข.  ออบชั่นบัตทอน
ค.  เช็คบ็อกซ์              
ง.   ลิสต์บ็อกซ์
8.   คอนโทรล ท็อกเกิลบัตทอน   นั้นมีไว้สำหรับใช้ในกรณีใด
ก.  แสดงรายการตัวเลือก ที่สามารถแสดงรูปภาพได้
ข.  แสดงตัวเลือก ที่สามารถเลือกหรือไม่เลือกก็ได้
ค.  แสดงผลข้อมูลเป็นกลุ่มของค่า และตัวเลือก
ง.  แสดงรายการตัวเลือก โดยให้เลือกเพียง 1 ตัวเลือก
9.   หากเราต้องการจัดหมวดหมู่การแสดงผลบนฟอร์ม ควรเลือกใช้คอนโทรลใดจะเหมาะสมที่สุด
ก.  แท็บคอนโทรล
ข.  ลิสต์บ็อกซ์
ค.  Unbond Object Frame
ง.  เพจเบรก
10.   ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของฟอร์มที่เราสร้างขึ้นจากมุมมอง Form Design
ก.  ฟอร์มที่สามารถนำรูปภาพมาแสดงร่วมกับข้อมูลได้
ข. ฟอร์มที่มีการใช้คอนโทรลที่ซับซ้อน
ค.  ฟอร์มที่มีปุ่มคอนโทรลเพื่อสั่งให้ทำงานบางอย่างได้
ง.  ไม่มีข้อใดถูก


เฉลย
1. ง
2. ก 
3. ค
4. ค
5. ข
6. ข
7. ง
8. ข
9. ก
10. ก
 บทที่ 9การสร้างฟอร์มในมุมมอง Form Design
     สำหรับในบทนี้จะเป็นการสร้างฟอร์มด้วยตัวเองในมุมมอง Form Design เพื่อให้เราสร้างฟอร์ม หรือ แก้ไขฟอร์มที่วิซาร์ดสร้างขึ้นมาให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น
การใช้งานมุมมอง Form Design
     ก่อนเริ่มต้นสร้างฟอร์มในมุมมอง Form Design เราจะต้องทราบก่อนว่า จะเข้ามุมมอง Form Design ได้อย่างไร และมุมมองนี้มีส่วนประกอยอะไรบ้าง
การเข้าสู่มุมมอง Form Design
การเข้าสู่มุมมอง Form Design  ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.   จากหน้าต่าง Database ให้ Click mouse เลือก Form เสร็จแล้ว Click mouse  ปุ่ม New
2.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ New Form ขึ้นมาให้เลือก Form Design แล้วเลือกตารางหรืคิวรีที่จะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับฟอร์ม  เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม Ok
3.   จะปรากฏมุมมอง Form Design  
ส่วนประกอบต่างๆ ในมุมมอง Form Design  
     ก่อนที่เราจะทำงานกับมุมมอง Form Design ด้านนั้นเราต้องเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ของหน้าต่างนี้กันก่อน มุมมองForm Design  มีส่วนประกอบต่างดังรูป
·   ฟอร์มว่างที่ให้เราออกแบบ ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ Form Header, Form Detali และ Form Footer ซึ้งส่วนใหญ่เราจะแสดงผลข้อมูลฟิลด์ต่างๆกันในส่วน Form Detali ส่วน Form Header และ Form Footerจะใช้การแสดงบางอย่าง เช่น ชื่อบริษัท โลโก้ของบริษัท วันที่ปัจจุบันเป็นต้น
·   ทูลบ็อกซ์ เป็นทูลบาร์ที่เก็บคอนโทรลต่างๆ ที่ช่วยเราในการออกแบบฟอร์ม โยดเรา Drag Mouse ลากคอนโทรลที่จะใช้มาวางบนฟอร์ม กำหนดตำแหน่ง ขนาด และคุณสมบัติของคอนโทรลให้เหมาะสม
·   Field List เป็นหน้าต่างที่ใช้แสดงรายการฟิลด์ที่ราเลือกเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับฟอร์ม สามารถ Drag Mouse ลากฟิลด์ที่ต้องการให้แสดงบนฟอร์มได้ทันที
·   Properties Windows เป็นหน้าต่างที่ใช้ในการแสดงคุณสมบัติต่างๆ ของฟอร์มและคอนโทรล
·   Form Design toolbar เป็นทูลบาร์ที่ใช้ในการทำงานต่างๆ ที่ช่วยในการออกแบบ เช่น เปลี่ยนมุมมองของฟอร์ม เป็นต้น
·   Formatting Toolbar เป็นทูลบาร์ที่ใช้กำหนดสีสัน รูปแบบ และคุณสมบัติต่างๆของคอนโทรล วึ่งช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับฟอร์มเรามากขึ้น
·   Virtical and horizontal rulers เป็นเครื่องช่วยในการกำหนดตำแหน่ง และขนาดของออบเจ็กต์บนฟอร์ม
·   Virtical and horizontal scroll bars เป้นเครื่องมือช่วยเราในการแสดงผลฟอร์มที่ใหญ่เกินกว่าหน้าต่าง Form Design  
รายละเอียดของทูลบาร์ในมุมมอง Form Design  
รายละเอียดของทูลบาร์ Form Design  
ทูลบาร์ชื่อ FormDesignในมุมมอง Form Design  จะรวบรวมคำสั่งต่าง ที่ใช่ในการออกแบบฟอร์มทูลบาร์นี้มีรูปดังต่อไปนี้
ตารางแสดงรายละเอียดของปุ่มต่างๆบนทูลบาร์ Form Design  
รายละเอียดของทูลบาร์ Toolbox
ทูลบาร์ Toolbox ในมุมมอ Form Design จะเก็บคอนโทรลต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบฟอร์ม ส่วนรายละเอียดของคอนโทรลจะกล่าวถึงในตอนต่อไปทูลบาร์นี้มีรูปดังนี้
ตารางแสดงรายละเอียดของปุ่มต่างๆบนทูลบาร์ Toolbox
การออกแบบฟอร์มด้วยคอนโทรล
     เป็นการใช้คอนโทรนวิซาร์ดที่จะช่วยในการทำงานกับ คอรโทรลที่ซับซ่อนที่มีอยู่ในทูลบ็อกซ์ของมุมมอง Form Design ได้ง่ายขึ้น เราจะกล่าวถึงรายละเอียดขั้นตอนในการออกแบบฟอร์มด้วยคอนโทรลวิซาร์ด  ดังหัวข้อต่อไปนี้
การทำงานในรูปแบบต่างๆ กับคอนโทรล (Control)
     ในการออกแบบฟอร์ม เราต้องทำงานในรูปแบบต่างๆ กับคอนโทรลในลักษณะต่างๆ เช่นเราต้องเลือกคอนโทรลจากทูลบ็อกซ์  Toolbox มาวางลงบนฟอร์ม เมื่อวางเสร็จแล้ว เราอาจจะต้องทำงานต่างๆ เหล่านี้เช่น ต้องการเปลี่ยนขนาดของคอนโทรล ย้าย คอนโทรลไปยังตำแหน่งบนฟอร์มใหม่ที่ละ 1 คอนโทรล หรืเป็นกลุ่มก็ได้ หรือลบคอนโทรลออกจากฟอร์ม เป็นต้น

สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่เราต้องเข้าใจในการออกแบบฟอร์มเนื่องจากคอนโทรลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกาแสดงผล และติดต่อกับผู้ใช้ที่ใช้งานฟอร์ม
การทำงานในรูปแบบต่างๆ กับคอนโทรล ให้ทำตามดังต่อไปนี้
·        การเลือกคอนโทรลวางลงบนฟอร์ม ให้เราเลือกฟอร์มที่ต้องการจากทูลบ็อกซ์ และไปวางบนฟอร์มยังตำแหน่งที่ต้องการ
·        การเลือก และย้ายคอนโทรน 1 คอนโทรล ให้เรา Click mouse ที่คอนโทรนที่เราต้องการย้าย จะเป็นการเลือดคอนโทรน และให้ Drag Mouse เพื่อย้ายคอนโทรลไปยังตำแหน่งใหม่บนฟอร์ม
·        การเลือก และการย้ายคอนโทรลเป็นกลุ่ม โดยให้เรา Drag Mouse เป็นกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบคอนโทรลที่ต้องการย้ายและให้ Drag Mouse เพื่อย้ายคอนโทรลทั้งกลุ่มที่เลือกไปยังที่ใหม่บนฟอร์ม
·        การเปลี่ยนขนาดของคอนโทรล ให้เราเลือกคอนโทรลที่ต้องการเปลี่ยนขนาด ต่อจากนั้นให้เราเลื่อนตัวชี้เม้าส์มาที่จุดสี่เหลี่ยมบนด้าน หรือมุมของคอนโทรลที่ต้องการเปลี่ยนขนาด เมื่อตัวชี้เม้าส์เปลี่ยนเป็นลูกศร 2 ทิศก็ให้ Drag Mouseคอนโทรลตัวนี้ไปเป็นขนาดที่ต้องการ
รายละเอียดของคอนโทรลที่อยู่ในทูลบ็อกซ์
ในหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงรายละเอียดและจุดประสงค์ในการใช้งานของคอนโทรลแต่ละคอนโทรลเพื่อให้เราสามารเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานของเราได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
เลเบล (Label) เป็นคอนโทรลที่ใช้แสดงข้อความ และไม่สามารถให้ผู้ใช้แก้ไขได้
เท็กซ์บ็อกซ์ (textBox) เป็นคอนโทรลที่ใช้แสดงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ให้ผุใช้สามารถแก้ไขข้อมูลได้ คอนโทรลทั้งสองมีลักษณะ ดังรูป

ออบชั่นกรุ๊ป (Option Group) เป็นคอนโทรลที่จะใช้ร่วมกับออบชั่บบัตทอน เช็กบ็อกและท็อกเกิ้ลบัตทอน สามารถแสดงผลข้อมูลที่เป็นลักษณะกลุ่มของค่า หรือเป็นลักษณะของตัวเลือกได้ เช่น ในฐานข้อมูลการสั่งชื้อ สามารถแสดงรหัสสินค้าได้ หรืแสดงว่า สินค้านั้นเสียภาสีหรืไม่ได้ ดังรูปข้างล่าง
ออบชั่นบัตทอน (Option Button) เป็นคอนโทรลที่ใช้แสดงตัวเลือกประเภทที่สามารถเลือกได้ ครั้งละ  ตัวเลือกจากตัวเลือกหลายๆ ตัวเลือกในคอนโทรลเฟรมอันหนึ่ง
เช็กบ็อกซ์(Check Box) เป็นคอนโทรลที่ใช้แสดงตังเลือกประเภทที่เป็นการเพิ่มเติม คือ จะเลือกหรือไม่ก็ได้
ท็อกเกิ้ลบัตทอน (Toggle Button) เป็นคอนโทรลที่เหมือนกับออบชั่นบัตทอน แต่จะแสดงรูปภาพบนคอนโทรลได้
คอมโบบ็อกซ์ (Com box) เป็นคอนโทรลที่ใช้แสดงรายการที่มีอยู่มากมาย โดยให้เราเลือกรายการหนึ่งจากรายการทั้งหมด ที่มีได้โดยในการเลือกต้อง Click Mouse ปุ่ม  เพื่อแสดงรายการที่มีอยู่ก่อน
ลิสต์บ็อกซ์ (List Box) เป็นคอรโทรลที่คล้ายกับคอมโบบ็อกซ์ แต่เสียเนื้อที่ในการแสดงผลบนฟอร์มมากกกว่า
ปุ่มคำสั่ง(Command Button) เป็นคอนโทรลที่ต้องการใช้มีการทำงานตอบสนองผู้ใช้ เมื่อมีการคลิกเมาส์บนตังคอนโทรล
อิมเมจ(Image)เป็นคอนโทรลที่ใช้แสดงรูปภาพ โดยที่ไม่เกี่ยวกับข้อมูลในฐานข้อมูล
Unbound Object Frame เป็นคอนโทรลที่ใช้ในการแสดงผลออบเจ็กต์ OLE ได้ โดยที่ไม่เกี่ยวกับฟิลด์ในฐานข้อมูล
Bound Object Frame เป็นคอนโทรลที่ใช้แสดงผลในบานข้อมูลที่เป็นออบเจ็กต์ OLE ที่เป็นฟิลด์ในฐานข้อมูล
เพจเบรก (Page Break) ใช้เพื่อเมื่อมีการพิมพ์ฟอร์ม หรือรายงานจะขึ้นหน้าใหม่ตรงที่มีตำแหน่งของคอนโทรลนี้อยู่
แท็บคอนโทรล (Tab Control) คอนโทรลนี้ชวยลดพื้นที่ในการแสดงผลบนฟอร์มและ สามารถจัดหมวดหมู่ของข้อมูลที่แสดงผล เช่น ต้องการให้ข้อมูลลูกค้า และการสั่งซื้อของลูกค้ารายนั้น อยู่ในแต่ละเพจของคอนโทรลนั้นได้ดังรูป
ฟอร์มย่อย Subform/Subreport จะเป็นคอนโทรลที่ใช้ในการแสดงผลฟอร์มอื่นๆ ภายในฟอร์มที่มีคอนโทรลนี้ โดยข้อมูลที่แสดงผลจะมีความสัมพันธ์กัน เช่น ต้องการแสดงข้อมูลการสั่งซื้อ พร้อมกับรายการการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง เป็นต้น
เส้นตรงและสี่เหลี่ยม (Lind and Rectangle) เป็นคอนโทรลที่ใช้เพิ่มความสวยงามให้กับฟอร์ม ซึ่งไม่เกี่ยวกับฐานข้อมูล
การใช้คอนโทรลวิวาร์ด (Control WiZard)
      คอนโทรลวิซาร์ดจะใช้กับคอนโทรลต่างๆ เช่น คอมโบบ็อกซ์ ลิสต์บ็อกซ์ เป็นต้น การใช้คอนโทรลวิซาร์ดทำได้โดยจากมุมมอง Form Design ให้เรา Click mouse ปุ่ม ให้ยุบค้างไว้ เพื่อให้คอนโทรลวิซาร์ดทำงาน เมื่อมีการสร้างคอนโทรนขึ้นมา
การดูผลลัพธ์ของฟอร์มที่สร้างในมุมมอง Form View
     เมื่อเราสร้างฟอร์มในมุมมอง From Design แล้ว เราต้องการดูผลลัพธ์ของฟอร์มที่สร้างขึ้นมาได้ในมุมมอง Form View ซึ่งเรียกได้ โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.        มุมมอง From Design ให้เรา Click Mouse เมนู View> Form View
2.        จะปรากฏผลลัพธ์ของฟอร์มที่สร้าง
ตัวอย่างการสร้างฟอร์มด้วยคอนโทรล
ตัวอย่างที่ 9.1 แสดงการสร้างสร้างฟอร์มแสดงข้อมูลจากตาราง TblProducts
     ตัวอย่างนี้เราจะสร้างฟอร์มจากตารางTblProductsที่มีโครงสร้างและส่วนฟอร์มที่จะแสดงฟิลด์ProductiD ProductName และ UnitPrice ดังรูป
การสร้างฟอร์มข้างต้น ให้เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.      จากหน้าต่าง Database ให้ Click mouse เลือก Form เสร็จแล้ว Click mouse  ปุ่ม New
2.      เลือก Design View และเลือกตาราง TblProducts เป็นแหล่งข้อมูลของฟอร์ม
3.      จากนั้นให้เราเลือกฟิลด์ ProductlD , ProductName และ UnitPrice จากหน้าตาง Field List มาวางบนฟอร์ม
4.      แสดงผลลัพธ์การทำงานของฟอร์ม โดยฟอร์มจะแสดงฟิลด์ ProductlD , ProductName และ UnitPrice ให้เราสามารถแก้ไขข้อมูลได้
ตัวอย่างที่ 9.2 สร้างฟอร์มที่สั่งให้ทำงานบางอย่างได้ด้วยปุ่มคำสั่ง
     ตัวอย่างนี้ จะแสดงการสร้างฟอร์มต่อจากฟอร์มในตัวอย่างก่อน โดยเพิ่มคอนโทรลปุ่มคำสั่ง ที่จะทำหน้าที่ค้นหาเรคอร์ด พิมพ์ข้อมูลบนฟอร์ม ซึ่งมีลักษณะดังรูป
การสร้างฟอร์มข้างต้น ให้ราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.    ให้เราเขาฟอร์มที่สร้างจากตังอย่างก่อนในมุมมอง Form Design
2.   ให้เพิ่มคอนโทรลปุ่มคำสั่ง ปุ่มแรกลงไปในฟอร์ม โดยที่ให้เราเลือกปุ่ม   ด้วยเพื่อกำหนดให้มีวิซาร์ดช่วยในการออกแบบ และช่วยกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรลปุ่มคำสั่งด้วย
3.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ Command button Wizard ที่ช่วยในการออกแบบปุ่มคำสั่ง โดยแบ่งการทำงานเป็นประเภทต่างๆในฝั่ง Catagories ให้เลือกชนิดของการทำงาน และการทำงานแต่ละอย่างในประเภทนั้นๆ ใน Actions ตัวอย่างนี้ให้เราเลือกข้าง Catagories เป็น Record Navigation และเลือกข้าง Actions เป็น Find Record เพื่อให้แสดงไดอะล็อกซ์ Find ในการค้นหาเรคอร์ดที่ต้องการ เสร็จแล้ว Click mouse ที่ปุ่ม Next
4.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ต่อไป ให้เราเลือกว่า จะให้แสดงรูปภาพ หรือข้อความบนปุ่มคำสั่ง ให้เราเลือกตามที่เราต้องการ เสร็จแล้ว Click mouse ที่ปุ่ม Next
5.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ต่อไป ให้เราเลือกชื่อปุ่มคำสั่ง ให้เราใส่ชื่ออะไรก็ได้ เสร็จแล้ว Click mouse ที่ปุ่ม Finish
6.   จะกลับเข้าสู่มุมมอง Form Design ให้เรานำปุ่มคำสั่งปุ่มที่ 2 มาวางบนฟอร์ม แล้วลองทำให้ปุ่มคำสั่งนี้ใช้ในการลบเรคอร์ดได้ โดยเลือกสิ่งต่างๆดังรูป
7.   เสร็จแล้วลองแสดงผลลัพธ์ของฟอร์ม โดยเข้าสู่มุมมอง Form View การทำงานของฟอร์มนี้เป็นดังนี้
·        Click mouse ที่ปุ่ม   จะเรียกไดอะล็อกซ์ Find ขึ้นมาเพื่อช่วนในการค้นหา
·        Click mouse ที่ปุ่ม   จะลบเรคอร์ดปัจจุบันที่แสดงบนฟอร์มออกไป
ตัวอย่างที่ 9.3 สร้างฟอร์มแบบแสดงตัวเลือก
     ตัวอย่างนี้ เราจะสร้างฟอร์มแสดงข้อมูลฟิลด์ ProductlD , ProductName และ CategoryID จากตาราง TblProducts ส่วนฟอร์มที่เราสร้างจะใช้คอนโทรลออบชั่นกรุ๊ปในการแสดงฟิลด์ CategoryID พร้อมทั้งสามารถแก้ไขค่าฟิลด์ได้ด้วยการใช้คอนโทรลนี้มีข้อดีคือ เมื่อฟิลด์นั้นมีข้อมูลที่สามารถกำหนดค่าให้ได้จำกัดเราสามารถเลือกได้เฉพาะตัวเลือกเท่านั้น จะเลือกนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ ฟอร์มที่สร้างมีลักษณะดังรูป


การสร้างฟอร์มข้างต้น ให้เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.     จากหน้าต่าง Database ให้เรา Click mouse ที่ Forrns เสร็จแล้ว Click mouse ที่ปุ่ม New
2.     จะปรากฏไดอะล็อกซ์ New Form ขึ้นมาให้เลือก Design View และเลือกตาราง TblProducts เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม OK
3.     ให้เราเลือกฟิลด์ ProductName และ UnitPrice มาวางบนฟอร์ม
4.     ต่อไปให้เราเลือกคอนโทรลออบชั่นกรุ๊ปมาวางบนฟอร์มด้วย(ให้เลือก Control Wizards บนทูลบ็อกด้วย เพื่อเราจะได้ ใช้วิซาร์ดในการกำหนดคุณสมบัติของคอนโทรล)
5.     จะปรากฏไดอะล็อกซ์ Option group Wizard ให้เราใส่ข้อความที่ต้องการให้ปรากฏเป็นตัวเลือกในคอนโทรน ตัวอย่างนี้ให้เราใส่เป็น หนังสือ” “CD-Rom”   “Hardware” และ “Multimedia” ตามลำดับเสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม Next
6.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ต่อไป ให้เราเลือกว่าจะทีค่าดีฟอลต์หรือไม่ และถ้ามีจะเป็นเท่าใด ตัวอย่างนี้ให้เราเลือก หนังสือเป็นค่าดีฟอลต์ เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม Next
7.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ต่อไป ให้เรากำหนดค่าที่ใช้แทนตัวหนังสือแต่ละตัวที่สร้างขึ้นมา ตัวอย่างนี้ให้เราใส่เป็น 1,2,3และ4 เหมือนกับข้อมูลในฟิลด์ CategoryID เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม Next
8.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ต่อไปให้เราเลือกว่าจะใช้ค่าตัวเลือกไปทำงานอย่างอื่นๆ ในแอพพริเคชั่นหรือเก็บค่าลงฟิลด์ ในตัวอย่างนี้ให้เราเลือกเก็บค่าลงฟิลด์ชื่อ CategoryID เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม Next
9.   จะปรากฏไดอะล็อกซ์ต่อไปให้เราเลือกชนิดของคอนโทรลที่จะให้ปรากฏบนฟอร์ม ซึ่งมี 3 อย่าง ตัวอย่างนี้ให้เราเลือกออบชั่นบัตทอน และเลือกรูปแบบของคอนโทรลแบบใดก็ได้ เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม Next
10.  จะปรากฏไดอะล็อกซ์ต่อไป ให้เราตั้งชื่อของคอนโทรลออบชั่นกรุ๊ป เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม  Finish
11.  เสร็จแล้วจะปรากฏคอนโทรลออบชั่นกรุ๊ปที่สร้างขึ้นมา ให้เราลองแสดงผลลัพธ์ของฟอร์ม โดยเข้าสู่มุมมอง
Form View การทำงานของฟอร์มนี้ จะแสดงข้อมูลในฟิลด์ CategoryID ทางตัวเลือกในคอนโทรลออบชั่นกรุ๊ป และแสดงข้อมูลฟิลด์ ProductName และ UnitPrice ด้วย
ตัวอย่าง 9.4 สร้างฟอร์มที่แสดงฟิลด์ที่เป็นออบเจ็กต์รูปภาพ
     ตัวอย่างนี้เราจะแสดงการสร้างฟอร์มที่แสดงข้อมูลฟิลด์ CategoryID ด้วยคอนโทรลคอมโบบ็อกซ์และแสดงฟิลด์ CategoryName CategoryDescription และ CategoryPicture จากตาราง TblCategories ที่มีโครงสร้าง และฟอร์มนี้เราสามารถเลือกค่า CategoryID จากคอมโบบ็อกซ์ได้และค่าฟิลด์อื่นที่จะแสดงบนฟอร์มจะเปลี่ยนตามไปด้วยซึ่งฟอร์มจะมีลักษณะดังรูป
สรุปท้ายบทที่ 9
     โดยสรุปแล้ว มุมมอง Form Design สามารถใช้สร้างฟอร์มให้มีลักษณะตรงกับความต้องการของเรามากขึ้น แต่เราต้องเลือกและจัดตำแหน่งของคอนโทรลด้วยตนเอง คอนโทรลที่มักใช้บ่อยๆ เช่น เลเบล เท็กซบ็อกซ์ ออบชั่นกรุ๊ป ออบชั่นบัตทอน เช็กบ็อกซ์ เป็นต้น ต้องเลือกใช้คอนโทรลวิซาร์ดให้เหมาะสมได้แก่ ปุ่มคำสั่ง คอมโบบ็อกซ์ ลิสต์บ็อกซ์ และควรเลือกคอนโทรลที่ใช้ตกแต่งฟอร์มให้สวยงาม เช่น เส้นตรงและสี่เหลี่ยม เป็นต้น Form Design ในการปรับแต่งฟอร์มที่สร้างจากวิซาร์ดให้ตรงกับความต้องการของเราได้ด้วยเช่นกัน 

แบบฝึกหัดหลังเรียน
จงทำเครื่องหมายงกลมหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดเป็นลักษณะของฟอร์มที่เราสร้างขึ้นจากมุมมอง Form Desig
ก.  ฟอร์มที่มีการใช้คอนโทรล
ข.  ฟอร์มที่สามารถนำรูปภาพมาเเสดงร่วมกันได้
ค.  ฟอร์มที่มีปุ่มคอนโทรลเพื่อสั่งให้ทำงานบางอย่างได้
2.   ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบที่อยู่ในมุมมอง From Design
ก.  Backgroun
ข.  Ruler
ค.  หน้าต่าง Properties
ง.  ทูลบาร์ Formatting
3.   จากทูลบ็อกซ์ที่อยู่บนมุมมอง From Design หากเราต้องการแทรกรูปภาพลงในฟอร์มเราต้อง Click mouse ที่ปุ่มใด
ก.  ออบชั่นกรุ๊ป
ข.  เช็อกบ็อกซ์
ค.  อิมเมจ
ง.  ลิสต์บ็อกซ์
4.   ข้อใดต่อไปนี้สอดคล้องกัน
ก.  ออบชั่นบัตทอน,แทรกเช็คบ็อกซ์
ข.  เช็กบ็อกซ์,แทรกคอมโบบ็อกซ์
ค.  ลิสต์บ็อกซ์,แทรกลิสต์บ็อกซ์
ง.  Unbond Object Frame,แทรกรูปภาพ
5.   ปุ่ม  บนทูลบ็อกซ์ในมุมมอง From Design มีไว้สำหรับใช้งานใด
ก.  แทรกเท็กซ์บ็อกซ์ลงบนฟอร์ม
ข.  แทรกเฟรมลงบนฟอร์ม
ค.  แทรกคอมโบบ็อกซ์ลงบนฟอร์ม
ง.  แทรกแท็บคอนโทรลลงบนฟอร์ม
6.   เมื่อเราต้องการเลือกคอนโทรลอื่นๆนอกเหนือจากที่อยู่บนทูลบ็อกซ์ จะมีวิธีทำได้อย่างไร
ก.  เลือกเมนู View>Toolbox
ข.  Click mouse ที่ปุ่ม
ค.  เลือกเมนู Help>Microsoft Access Help
ง.  Click mouse ที่ปุ่ม
7.   คอนโทรล ท็อกเกิลบัตทอน   นั้นมีไว้สำหรับใช้ในกรณีใด
ก.  ลิสต์บ็อกซ์
ข.  เท็กซ์บ็อกซ์
ค.  เลเบล
ง.   เช็คบ็อกซ์
8.   กรณีเราต้องการแสดงข้อมูลแก่ผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลได้ด้วย ควรเลือกใช้คอนโทรลใด
ก.  แสดงผลข้อมูลเป็นกลุ่มของค่า และตัวเลือก
ข.  แสดงตัวเลือก ที่สามารถเลือกหรือไม่เลือกก็ได้
ค.  แสดงรายการตัวเลือก โดยให้เลือกเพียง 1 ตัวเลือก
ง.  แสดงรายการตัวเลือกที่สามารถแสดงรูปภาพได้
9.   หากเราต้องการจัดหมวดหมู่การแสดงผลบนฟอร์ม ควรเลือกใช้คอนโทรลใดจะเหมาะสมที่สุด
ก.  ท็อกเกิ้ลบัตทอน
ข.  ลิสต์บ็อกซ์
ค.  Unbond Object Frame
ง.  เพจเบรก
10.   คอนโทรลประเภทใดที่ใช้ในการแสดงตัวเลือกที่สามารถเลือกได้เพียงครั้งละ1 เท่านั้น
ก.  คอมโบบ็อกซ์
ข.   ลิสต์บ็อกซ์
ค.  เช็คบ็อกซ์
ง.   ออบชั่นบัตทอน

เฉลย
1. ง
2. ก
3. ค
4. ค
5. ข
6. ข
7. ง
8. ข
9. ก
10. ก