บทที่ 12 การใช้งานมาโคร

แบบฝึกหัดก่อนเรียนบทที่ 12
จงทำเครื่องหมายวงกลมหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดเป็นความสามารถของมาโคร
ก.เรียกใช้คำสั่งต่างๆ ที่อยู่ในเมนูของ Access
ข.สร้างแอพพริเคชั่นต่างๆ สำหรับจัดการฐานข้อมูลได้
ค.เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ กับฐานข้อมูลเป็นไปแบบอัตโนมัติ
ง.ถูกทุกข้อ
2.การสร้างมาโครใน Access นั้นสามารถทำได้กี่วิธี
ก.ทำได้เพียงวิธีเดียว คือ Macro Design
ข.ทำได้ 2 วิธี คือ Macro Wizard และ Macro Design
ค.ทำได้ 3 วิธี คือ Macro Wizard ,Macro Design และการนำเข้าจากโปรแกรมอื่น
ง.ทำได้เพียงวิธีเดียว คือ Macro Wizard
3.ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบที่อยู่ในมุมมอง Macro Design
ก.Macro Designer Toolbar
ข.Macro Persentation
ค.Macro Agrument
ง.Macro Design Grid
4.ส่วนประกอบของ Macro Design ส่วนใดที่ใช้สำหรับกำหนดพารามิเตอร์ต่างๆ
ก.Macro Designer Toolbar
ข.Macro Persentation
ค.Macro Agrument
ง.Macro Design Grid
5.ข้อใดไม่ใช่ประเภทของมาโคร ที่สามารถสร้างขึ้นใน Access
ก.การแปลงฐานข้อมูล
ข.การค้นหา และฟิลด์เตอร์ข้อมูล
ค.การพิมพ์
ง.การนำเข้า และการส่งข้อมูลออก
6.หารเราต้องการกระโดดไปยังเรคอร์ดที่ต้องการในตาราง เราควรเลือกใช้มาโครใด
ก.ApplyFiter                                                      
 ข.FindRecord
  ค.FindNext                                                       
ง. Restore
7.มาโครที่ชื่อว่า Beep ใช้สำหรับการทำงานใด
ก.บีบขนาดของฐานข้อมูลให้เล็กลง
ข.แสดงข้อความที่กำหนดให้ทราบ
ค.ส่งเสียงเตือนผู้ใช้
ง.วาดออบเจ็กต์ตามที่กำหนด
8.หากเราต้องการกำหนดขนาดของหน้าต่างแอพพริเคชั่นที่ทำงานอยู่ เราควรเลือกใช้มาโครข้อใด
ก.GotoPage                                                         
 ข.GotoRecord
 ค.MoveSize       
ง.Restore                             
9.ข้อใดต่อไปนี้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง
ก.GotoRecord ไปยังหน้าฟอร์มที่ต้องการ
ข.FindNext กระโดดไปยังเรคอร์ดที่ต้องการ
ค.MoveSize กำหนดขนาดของหน้าต่างปัจจุบัน
ง.Restore ทำให้หน้าต่างปัจจุบันแสดงภาพเต็มจอ     
10.เราสามารถกำหนดให้แอพพริเคชั่นที่สร้างขึ้นเริ่มทำงานทันที เมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูลด้วยวิธีใด
ก.เลือกเมนู Tool>Autocorrect
ข.เลือกเมนู Tool>Startup
ค.เลือกเมนู File>Open Database
ง.เลือกเมนู Run>Run

เฉลย
1 ง.         6 ง.
2 ก.        7 ค.
3 ข.        8 ค.
4 ค.        9 ค.
5 ก.        10 ข.


บทที่12 การใช้งานมาโคร
มาโคร คืออะไร
     มาโครป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ เป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น โดยมาโครสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ เช่น การเปิด/ปิดตาราง คิวรีฟอร์ม หรือคิวรีการพิมพ์ รายงาน เป็นต้น  มาโครใน Access นั้นสามารถทำงานต่างๆ ที่มีอยู่ใน Access มากถึงกว่า 40 อย่าง และยังสามารถเรียกใช้คำสั่งต่างๆที่มีอยู่ ในเมนูของ Access ได้ด้วย เช่น คำสั่งให้ว่อนหน้าต่างทูลบาร์ และเมนูบาร์ เป็นต้น
การใช้งานในมุมมอง Macro Design
     ในการสร้างมาโครนั้น เราจะต้องทำในมุมมอง Macro Design ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาศึกษาการใช้งานในมุมมองนี้กันก่อน
การสร้างมาโครใหม่
     การสร้างมาโครใหม่ ให้เข้าสู่มุมมอง Macro Design โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.        จากหน้าต่าง Database Macros เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม New เพื่อสร้างมาโครใหม่
2.        จะปรากฏมุมมอง Database Macros
การเข้าสู่มุมมอง Macro Design
     เมื่อเราสร้างมาโครขึ้นมาแล้ว ถ้าเราต้องการแก้ไขมาโครที่ได้สร้างไปแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.        จากหน้าต่าง Database เลือกแท็บ Macros เสร็จแล้ว Click mouse ปุ่ม Design เพื่อสร้างมาโครใหม่
2.        จะปรากฏมาโครที่เลือกในมุมมอง Macro Design
·        Macro Design Grid เป็นส่วนที่เราใส่ลำดับของมาโครให้ทำงานหนึ่งๆ ตามที่เราต้องการ
·        Macro Argument เป็นส่วนที่เรากำหนดพารามิเตอร์ที่เป็นข้อมูลบางอย่างที่จำเป็น เมื่อมีการเลือกใช้แต่ละมาโคร
·        Macro Design Toolbar เป็นทูลบาร์ที่เก็บคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างมาโคร
การสร้างมาโคร
   ต่อไป เมื่อเราได้เข้ามาในมุมมอง Macro Design เรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า Macro Design Grid จะมีแถวชื่อ Action ซึ่งเราจะต้องเลือกมาโครจากแถวนี้ และลำดับในการทำงานของมาโคร จะเป็นไปตามลำดับที่เราได้เลือกไว้จากบนลงล่าง
รายละเอียดของมาโครในแต่ละประเภท
     มาโครใน Access นั้นแบ่งเป็นหลายประเภทดังนี้
1.        การเปิด และปิดตาราง คิวรี ฟอร์ม และรายงาน
·        Close ปิดหน้าต่างที่กำหนด หรือหน้าต่างที่กำลังทำงานอยู่ ทั้งของ คิวรี ฟอร์ม ตาราง และรายงาน
·       เปิดหน้าต่างที่กำหนดในมุมมองที่กำหนดซึ่งมี Database, Design และ Print Preview โดยเลือกโหมดสำหรับการเปิดไดคือ โหมดแก้ไขได้ เพิ่มข้อมูล หรือดูข้อมูลได้อย่างเดียวเท่านั้น
·        OpenQuery เปิดคิวรีที่กำหนดในมุมมองเหมือนมาโคร Open Table
·     OpenForm เปิดฟอร์มที่กำหนดในมุมมอง Database, Design , Print  และ Print Preview สามารถกำหนดฟิลต์เตอร์เพื่อกรองข้อมูลที่จะใช้แสดงบนฟอร์มได้ และกำหนดโหมดในการทำงานได้เหมือนกับมาโคร Open Table
·        OpenReport เปิดรายงานในมุมมอง , Print , Print Previewและ Design สามารถกำหนดฟิลเตอร์เพื่อกรองข้อมูลที่จะให้แสดงบนรายงานได้
2.        การรัน และการหยุดการทำงานของมาโคร
·        RunMacro ใช้ในการรันมาโครที่ระบุ โดยที่จะรันมาโครที่กำหนดเสร็จ แล้วจึงกลับมาทำงานมาโครต่อไปจากมาโครนี้
·        StopMacro หยุดการทำงานของมาโครที่กำลังทำงานอยู่ในขณะนั้น
·        StopAllMacro หยุดการทำงานของมาโคร
3.        การกำหนดค่า
·        SendKeys ใช้ในการเก็บค่าคีย์บอร์ดลงในบัฟเฟอร์ของคีย์บอร์ด
·        SetValue ใช้ในการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับคอนโทรลได้
4.        การค้นหา และฟิลเตอร์ข้อมูล
·        FindRecord ใช้ในการค้นหาเรคอร์ด โดยมีพารามิเตอร์ต่างๆ เหมือนกับไดอะล็อกซ์ Find ที่เรียกจากเมนู Edit> Find
·        FindNext  ใช้ในการค้นหาเรคอร์ดต่อไปจากการค้นหาครั้งที่แล้ว
·     GotoRecord ใช้ในการกระโดดไปยังเรคอร์ดที่ต้องการในตารางคิงรีหรือฟอร์ม สามารถกำหนดให้ไปยังเรคอร์ดแรก สุดท้าย ถัดไป ก่อนหน้าหรือกำหนดหมายเลขเรคอร์ด ที่ต้องการไปได้
·        ApplyFilter ทำให้มีการแสดงข้อมูลตามฟิลเตอร์ที่กำหนด ซึ่งอาจจะเป็นชื่อของคิวรีก็ได้
5.        การเตือนผู้ใช้
·        Beep ใช้ส่งเสียงเตือนให้ผู้ใช้
·        MsgBox  แสดงไดอะล้อกซ์ตามข้อความที่กำหนด
6.        การควบคุมการแสดงผล และการโฟกัสของคอนโทรล
·        RepaintObject ให้วาดออบเจ็กต์ ที่กำหนดใหม่อีกครั้ง สามารถใช้ในการคำนวนค่าใหม่ได้
·        Hourglass แสดง Mouse Pointer เป็นรูปนาฬิกาทราย ขณะที่รันมาโคร
·        Maximize ทำให้หน้าต่างปัจจุบันแสดงเต็มจอภาพ
·        Minimize ทำให้หน้าต่างปัจจุบันแสดงเป็นไอคอน
·        Restore ทำให้หน้าต่างปัจจุบันเท่ากับขนาดของมันในครั้งก่อน
·        MoveSize กำหนดขนาดของหน้าต่างปัจจุบัน
·        ShowallRecords ใช้ในการลบฟิลเตอร์ที่ใช้อยู่ออก ให้แสดงเรคอร์ดทั้งหมด
·        Showtoolbar  ใช้ในการแสดงหรือไม่แสดงทูลบาร์ที่กำหนด
·        GotoPage ไปยังหน้าที่กำหนดในฟอร์มหรือรายงาน
·        GotoControl ให้โฟกัสไปยังคอนโทรลที่กำหนด
·        SelectObject ใช้ในการเลือกออบเจ็กต์จากตารางในหน้าต่าง Database หรือที่เปิดอยู่ก็ได้
7.        การเปลี่ยนชื่อ และทำสำเนาข้อมูล
·        Rename เปลี่ยนชื่อออบเจ็กต์ในฐานข้อมูลที่ใช้อยู่ไปเป็นชื่อใหม่
·        CopyObject ใช้ทำสำเนาออบเจ็กต์ที่ระบุไปเป็นชื่อใหม่ของฐานข้อมูลที่ใช้อยู่หรือทำสำเนาชื่อเดิมในฐานข้อมูลอื่น
8.        การนำเข้า และการส่งออกข้อมูล
·        Transfer Database ใช้ในการนำเข้าและส่งออกข้อมูลไปยังฐานข้อมูลภายนอก เช่น  dBase, FoxPro เป็นต้น
·        TransferSpreadsheet ใช้ในการและส่งข้อมูลในฐานข้อมูลออกไปเป็นไฟล์สเปรตชีตของโปรแกรมอื่นๆ เช่น Excel ,Lotus เป็นต้น
·        TransferText ใช้ในการและส่งข้อมูลในฐานข้อมูลออกไปเป็นไฟล์ข้อความในรูปแบบตามที่กำหนด เช่นไฟล์ธรรมดา  หรือไฟล์ HTML
9.        การรันแอพพริเคชั่นภายนอก
·        RunApp  ใช้รันแอพพริเคชั่นอื่นๆตามที่ระบุ เช่น Paintbrush ของวินโดวส์ เป็นต้น
10.     การทำงานเกี่ยวกับเมนู
·        DoMenultem ใช้เรียกคำสั่งต่างๆที่ปรากฏในมุมมองของ Access ได้
11.     การพิมพ์
·     PintOut พิมพ์ตารางหรือ คิวรี ฟอร์มหรือรายงานที่กำลังทำงานอยู่ด้วย สามารถกำหนดช่วงกระดาษคุณภาพในการพิมพ์ จำนวนหน้าที่ต้องการพิมพ์ ได้เหมือนกับไดอะล็อก Pint
การรันมาโคร
     เมื่อเราสร้างมาโครได้แล้ว เราต้องการดูผลการทำงานของมาโครได้ โดยจากในหน้าต่าง Database ให้เราเลือกมาโครที่จะรัน แล้ว Click mouse ปุ่ม Run ดังต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 12.1 การสร้างมาโครเพื่อพิมพ์รายงานใบสั่งซื่อตามรหัสที่เลือก
   ตัวอย่างนี้ เราจะสร้างมาโครที่ใช้ในการพิมพ์รายงานที่เราสร้างขึ้นมาในตัวอย่างที่ 10.4 โดยจะแสดงรายงานการสั่งซื้อตามหมายเลข OederID ที่เราป้อนให้ โดยมาโครที่สร้างมีการทำงานแสดงเป็นขั้นตอนได้ ดังรูป
การสร้างมาโครที่ทำงานข้างต้น ให้เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.     ให้เราสร้างมาโครขึ้นมาใหม่ ด้วยการ Click mouse ปุ่ม New แล้วจะเข้ามุมมอง Macro Design ต่อจากนั้นให้เราใส่มาโคร และพารามิเตอร์ต่อไปนี้ลงไปเรียงตามลำดับ ตามตารางต่อไปนี้
2.     ต่อจากนั้นให้เรารันมาโคร ด้วยการ Click mouse ปุ่ม Run ผลลัพธ์การรันมาโคร จะทำตามลำดับที่เรียงในตารางคือ จะเปิดรายงานตามรหัสใบสั่งซื้อสินค้าที่เราป้อนเข้าไปก่อน และจึงขยายหน้าต่างจนเต็ม แล้วพิมพ์รายงานออกมา เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วจะปิดรายงานนั้น
การเริ่มต้นทำงานเมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูล
     ในการสร้างแอพพริเคชั่นฐานข้อมูลในบางครั้ง เราอาจจะต้องการให้มีการทำงานบางอย่าง เมื่อมีการเปิดไฟล์ฐานข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ Access สามารถใช้งานได้ทันที
การกำหนดคุณสมบัติเริ่มต้นของฐานข้อมูล
     การกำหนดคุณสมบัติเริ่มต้นของฐานข้อมูล เมื่อเปิดไฟลืฐานข้อมูลของเราขึ้นมา เราสามารถกำหนดสิ่งต่างๆ เช่น ข้อความที่อยู่บนไตเติ้ลบาร์ ฟอร์มที่ต้องการให้ปรากฏเมื่อเปิดไฟล์บานข้อมูลขึ้นมา
ตัวอย่างที่ 12.2 การกำหนดให้แสดงฟอร์มข้อมูลลูกค้าเมื่อเริ่มต้นการเปิดไฟล์ฐานข้อมูล
     ในตัวอย่างนี้ เราจะกำหนดให้แสดงฟอร์ม ในตัวอย่างที่ 8.1 ที่มีหน้าตาของฟอร์มและสิ่งต่างๆเมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูลการสั่งซื้อของเราขึ้นมา ดังรูป
การทำให้มีคุณสมบัติต่างๆข้างต้นได้ ให้เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.        ให้เราเปิดไฟล์ฐานข้อมูลที่ต้องการกำหนดคุณสมบัติเริ่มต้น เสร็จแล้ว Click mouse เมนูTool>Startup (เครื่องมือ>เริ่มต้น)
2.     จะปรากฏไดอะล็อกซ์ Startup ซึ่งมีสิ่งต่างๆ ที่เราจำเป็นต้องทราบ ซึ่งชวยให้เราสามารถกำหนดคุณสมบัติเริ่มต้นเมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูลขึ้นมาได้ ดังต่อไปนี้
·     Application Title ให้กำหนดข้อความที่ปรากฏบนไตเติ้ลของหน้าต่าง Access เมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูล ในตัวอย่างนี้ให้เรากำหนดเป็น ข้อมูลลูกค้า
·        Application Icon ให้ไอคอนของ Access เมื่อเปิดฐานข้อมูลของเราเป็นอย่างไร
·        Display Form ใช้กำหนดฟอร์มที่จะแสดงเมื่อตอนเปิดไฟล์ฐานข้อมูลของเรา ในตัวอย่างนี้ให้เรากำหนดเป็นฟอร์มในตัวอย่างที่ 8.1
·        Display Database Window จะให้แสดงหน้าต่าง Database ด้วยหรือไม่ เมื่อไฟล์ฐานข้อมูลของเราขึ้นมา ในตัวอย่างนี้ให้เราไม่เช็คหัวข้อนี้
·        Display Status bar จะให้แสดงสเตตัสบาร์ที่อยู่ทางมุมซ้ายล่างหรือไม่เมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูลของเราในตัวอย่างนี้ให้เราเช็คหัวข้อนี้
3.        ผลลัพธ์เมื่อเรากำหนดคุณสมบัติเริ่มต้นแล้ว เมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูลนั้นจะปรากฏ
·        ฟอร์มในตัวอย่างที่ 8.1
·        ข้อความบนไตเติ้ลของ Accessข้อมูลลูกค้า
·        ไม่แสดงหน้าต่าง Database เนื่องจากไม่เช็คหัวข้อ Display Database Window
·        แสดงสเตตัสบาร์ที่อยู่ทางด้านล่างของหน้าต่าง Access

แบบฝึกหัดหลังเรียนบทที่ 12
จงทำเครื่องหมายวงกลมหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.ข้อใดเป็นความสามารถของมาโคร
ก.เรียกใช้คำสั่งต่างๆ ที่อยู่ในเมนูของ Access
ข.สร้างแอพพริเคชั่นต่างๆ สำหรับจัดการฐานข้อมูลได้
ค.เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ กับฐานข้อมูลเป็นไปแบบอัตโนมัติ
ง.ถูกทุกข้อ
2.การสร้างมาโครใน Access นั้นสามารถทำได้กี่วิธี
ก.ทำได้เพียงวิธีเดียว คือ Macro Design
ข.ทำได้ 2 วิธี คือ Macro Wizard และ Macro Design
ค.ทำได้ 3 วิธี คือ Macro Wizard ,Macro Design และการนำเข้าจากโปรแกรมอื่น
ง.ทำได้เพียงวิธีเดียว คือ Macro Wizard
3.ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบที่อยู่ในมุมมอง Macro Design
ก.Macro Designer Toolbar
ข.Macro Persentation
ค.Macro Agrument
ง.Macro Design Grid
4.ส่วนประกอบของ Macro Design ส่วนใดที่ใช้สำหรับกำหนดพารามิเตอร์ต่างๆ
ก.Macro Designer Toolbar
ข.Macro Persentation
ค.Macro Agrument
ง.Macro Design Grid
5.ข้อใดไม่ใช่ประเภทของมาโคร ที่สามารถสร้างขึ้นใน Access
ก.การแปลงฐานข้อมูล
ข.การค้นหา และฟิลด์เตอร์ข้อมูล
ค.การพิมพ์
ง.การนำเข้า และการส่งข้อมูลออก
6.หารเราต้องการกระโดดไปยังเรคอร์ดที่ต้องการในตาราง เราควรเลือกใช้มาโครใด
ก.ApplyFiter                                                      
 ข.FindRecord
  ค.FindNext                                                       
ง. Restore
7.มาโครที่ชื่อว่า Beep ใช้สำหรับการทำงานใด
ก.บีบขนาดของฐานข้อมูลให้เล็กลง
ข.แสดงข้อความที่กำหนดให้ทราบ
ค.ส่งเสียงเตือนผู้ใช้
ง.วาดออบเจ็กต์ตามที่กำหนด
8.หากเราต้องการกำหนดขนาดของหน้าต่างแอพพริเคชั่นที่ทำงานอยู่ เราควรเลือกใช้มาโครข้อใด
ก.GotoPage                                                         
 ข.GotoRecord
 ค.MoveSize       
ง.Restore                             
9.ข้อใดต่อไปนี้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง
ก.GotoRecord ไปยังหน้าฟอร์มที่ต้องการ
ข.FindNext กระโดดไปยังเรคอร์ดที่ต้องการ
ค.MoveSize กำหนดขนาดของหน้าต่างปัจจุบัน
ง.Restore ทำให้หน้าต่างปัจจุบันแสดงภาพเต็มจอ     
10.เราสามารถกำหนดให้แอพพริเคชั่นที่สร้างขึ้นเริ่มทำงานทันที เมื่อเปิดไฟล์ฐานข้อมูลด้วยวิธีใด
ก.เลือกเมนู Tool>Autocorrect
ข.เลือกเมนู Tool>Startup
ค.เลือกเมนู File>Open Database
ง.เลือกเมนู Run>Run

เฉลย
1 ง.         6 ง.
2 ก.        7 ค.
3 ข.        8 ค.
4 ค.        9 ค.
5 ก.        10 ข.